Friday, September 19, 2008

แนวโน้มเทคโนโลยีสื่อสารในอนาคต

โครงข่ายรวม แนวโน้มเทคโนโลยีสื่อสารในอนาคต
โครงข่ายรวมหรือเครือข่ายเดียวให้บริการได้ทั้งข้อมูลภาพ, ภาพเคลื่อนไหว, เสียง ในมาตรฐานต่างๆ กันได้ เป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีในระบบเปิด ที่สามารถรองรับการให้บริการ ที่หลากหลายในเวลาเดียวกันได้ รวมทั้งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ให้บริการลงมาด้วย โดยเริ่มตั้งแต่บริการโทรศัพท์ไร้สาย ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคสามารถถือเครื่องลูกข่ายเพียงเครื่องเดียว แต่สามารถเลือก ใช้บริการโครงข่ายทุกระบบได้ รวมถึงสามารถนำไปใช้ที่ไหนก็ได้ พร้อมกันนี้ บริการอื่นๆ ก็เช่นกัน โดยเฉพาะบริการอินเทอร์เน็ต ที่โครงข่ายจะเชื่อมถึงกันหมด ไม่ว่าจะใช้โครงข่าย ของใครก็ตาม ก็สามารถใช้งานได้ เนื่องจากการให้บริการด้านการสื่อสารของผู้ให้บริการ (เซอร์วิส โพรไวเดอร์) จะเริ่มมองเห็นความจำเป็นในการให้บริการรวม เนื่องจากมีความต้องการรออยู่แล้ว ขณะเดียวกัน การลงทุนด้านอุปกรณ์เครือข่ายและบริหารจัดการ ซึ่งเป็นต้นทุนใหญ่นั้น หากผู้ให้บริการ สามารถลงทุนครั้งเดียว รองรับบริการใหม่ๆ ได้ ก็จะช่วยลดการลงทุนในระยะยาว ที่จะต้องเพิ่มระบบ เพื่อรองรับบริการใหม่ๆ ตลอดเวลาได้ ทุกวันนี้ เทคโนโลยีเองก็สามารถรองรับแนวคิดดังกล่าวได้แล้ว โดยใช้เครือข่ายแถบสัญญาณกว้าง (บรอดแบนด์) ที่สามารถรองรับบริการหลายอย่าง ภายในเครือข่ายเดียวกันได้ แม้ขณะนี้จะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากต้องลงทุนสูง และค่าบริการที่จะเรียกเก็บก็จะสูงตามไปด้วย ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการยังมีจำกัด ในปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ยังใช้อยู่ คือ เครือข่ายแถบสัญญาณแคบ (แนร์โรว์ แบนด์) ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (อัพเกรด) ให้เป็นเครือข่ายแถบกว้างได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนใหม่ทั้งระบบ เทคโนโลยีดังกล่าว เรียกว่า "ยูนิฟายด์ เน็ตเวิร์ค" โดยเทคโนโลยีใหม่นี้ จะทำให้เครือข่ายเดิมสามารถ ให้บริการหลากหลายมากขึ้น เช่น สามารถให้บริการข้อมูล, เสียง, โทรสาร และการสื่อสารไร้สายได้ นอกจากนั้น ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเสียง บริการโทรแบบจ่ายก่อน (พรีเพด คอลลิ่ง) การให้บริการข้อมูลในโทรศัพท์เคลื่อนที่ (แวพ) การสื่อสารรวม (ยูนิฟายด์ คอมมูนิเคชั่น) โฮลเซล ไดอัล และโฮลเซล วอยซ์โอเวอร์ไอพี จากเดิมผู้ให้บริการสามารถให้บริการเสียงบนเครือข่ายข้อมูล หรือที่เรียกว่า "วอยซ์ โอเวอร์ไอพี" (VO/IP) อยู่แล้ว ผู้ค้าทยอยเปิดตัว นายจอร์จ คริสเตียนเซ่น รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจรีโมท แอ็คเซส บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ อิงค์ กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวอุปกรณ์เกตเวย์ที่เป็นรีโมท แอ็คเซส เซิร์ฟเวอร์ ที่สามารถรองรับการให้บริการใดๆ ในเครือข่ายเดียวกัน (ซิงเกิล เน็ตเวิร์ค) ทั้งเครือข่ายเสียง ข้อมูล แฟกซ์ และไวร์เลส เป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลังเปิดตัวในสหรัฐและยุโรปกว่า 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา อุปกรณ์ดังกล่าว เปิดแนวคิดภายใต้โครงสร้างสถาปัตยกรรม ASAP (Any Service Port) ทำให้ผู้ให้บริการ (เซอร์วิส โพรไวเดอร์) สามารถใช้อุปกรณ์เดียวให้บริการได้หลากหลายภายใต้ในเครือข่ายเดียว เป็นยูนิฟายด์ เน็ตเวิร์ค จากเดิมที่ต้องบริหารเครือข่ายของแต่ละประเภทแยกกัน ทั้งเครือข่ายเสียง เครือข่ายข้อมูล และเครือข่ายไร้สาย ประโยชน์ที่ได้ ผู้ให้บริการประหยัดค่าใช้จ่ายการลงทุนอุปกรณ์เพียงอุปกรณ์เดียวง่ายต่อการจัดการบริหารเครือข่าย และมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบสามารถจัดการสายเรียกเข้า (call-in) ที่เข้ามาในเครือข่ายตามประเภทของบริการได้ นายคริสเตียนเซ่นกล่าว กลุ่มเป้าหมายบริษัทเป็นกลุ่มผู้ให้บริการ โดยเฉพาะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่มีหลายๆ เครือข่ายที่ให้บริการแตกต่างกันในระบบ โดยบริษัทมีลูกค้าเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมขนาดใหญ่แล้ว เควสท์ (QWEST) ที่ใช้อุปกรณ์ใน 1.5 ล้านพอร์ต โดยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเครือข่ายลงกว่า 60% คาดว่าการให้บริการใต้แนวคิด ASAP นี้ จะเติบโตในภูมิภาคนี้ใน 3-6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากแม้ในบางประเทศ ยังมีปัญหาการเปิดเสรีการให้บริการ แต่ผู้ให้บริการเอง มีการแข่งขันสูง จึงต้องสามารถให้บริการใหม่ ที่แตกต่างโดยต้องลงทุนได้คุ้มประสิทธิภาพที่สุดภายใต้ระบบเครือข่ายช่องสัญญาณแคบ (Narrow Band) ที่มีอยู่เดิม ทำให้สามารถทำกำไรได้ นายคริสเตียนเซ่นกล่าว ทั้งนี้ที่ผ่านมา เมื่อมีเทคโนโลยีของวอยซ์โอเวอร์ไอพี การสื่อสารเสียงและข้อมูลเครือข่ายเดียว พบว่าปริมาณการใช้ โทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศของเสียงกว่า 1 ใน 3 มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดีเอสพี หัวใจของเทคโนโลยี นายสุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หัวใจของอุปกรณ์ อยู่ที่ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal Processing) ทำให้เทคโนโลยีราคาต่ำลง แต่สามารถ ให้บริการ ได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งการส่งโทรสารไปอี-เมล์ จากอี-เมล์เข้าเครื่องแฟกซ์ การให้บริการแวพ โฟนทูพีซี และพีซีทูโฟนได้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) และบริษัทโทรคมนาคม ที่ให้บริการหลากหลาย นายคริสเตียนเซ่นกล่าวทิ้งท้ายว่า เทคโนโลยีนี้ จะมีผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายยี่ห้ออื่นออกมาในอนาคต เมื่อแนวโน้ม ความต้องการลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
ที่มา: โครงการรวมแนวโน้มเทคโนโลยีสื่อสารในอนาคต.กรุงเทพไอที. 3 กันยายน 2544

No comments: